วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ดาวเคราะร์

แถบดาวเคราะห์น้อย (อังกฤษ: Asteroid belt) เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคาร กับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยก้อนหินจำนวนมากลอยเกาะกลุ่มกันเป็นแถบ เรียกหินเหล่านี้ว่า ดาวเคราะห์น้อย หรือ ดาวเคราะห์แคระ บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากแถบดาวเคราะห์แคระอื่นๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่นแถบไคเปอร์ และแถบหินกระจาย
มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในวัตถุขนาดใหญ่ 4 ชิ้น ได้แก่ ซีรีส, 4 เวสต้า, 2 พัลลัส และ 10 ไฮเจีย ทั้งสี่ชิ้นนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตร[1][2][3][4] ส่วนที่เหลือมีขนาดลดหลั่นกันลงไปจนถึงเศษฝุ่น ชิ้นส่วนในแถบดาวเคราะห์น้อยกระจายอยู่อย่างเบาบางจนกระทั่งยานอวกาศหลายลำสามารถแล่นผ่านไปได้โดยไม่ชนกับอะไรเลย นอกจากนั้น ชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ยังแตกสลายลง เกิดเป็นกลุ่มตระกูลดาวเคราะห์น้อยที่มีองค์ประกอบธาตุและวงโคจรใกล้เคียงกัน การแตกสลายทำให้เกิดเศษฝุ่นละเอียดขึ้นซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดแสงในแนวจักรราศี ดาวเคราะห์น้อยแต่ละชิ้นในแถบดาวเคราะห์น้อยจะจัดแบ่งกลุ่มโดยแยกตามการสะท้อนแสง โดยหลักแล้วมีสามกลุ่มได้แก่ กลุ่มคาร์บอน (C-type) กลุ่มซิลิกา (S-type) และกลุ่มโลหะ (M-type)
แถบดาวเคราะห์น้อยเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเนบิวลาระบบสุริยะในยุคเริ่มต้น ซึ่งเตรียมจะก่อตัวขึ้นเป็นดาวเคราะห์ แต่เนื่องจากตกอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี แรงโน้มถ่วงขนาดสูงของดาวเคราะห์ยักษ์ทำให้ชิ้นส่วนกำเนิดดาวเคราะห์มีพลังงานในการโคจรสูงเกินไปจนไม่สามารถรวมตัวกันขึ้นเป็นดาวเคราะห์ได้ นอกจากนี้ยังเกิดการกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งแทนที่ชิ้นส่วนเหล่านั้นจะรวมเข้าด้วยกัน กลับยิ่งแตกกระจัดกระจาย ด้วยเหตุนี้มวลส่วนใหญ่ในแถบดาวเคราะห์น้อยจึงมลายหายไปนับแต่ยุคเริ่มต้นของระบบสุริยะ บางชิ้นส่วนอาจหลุดรอดเข้ามายังระบบสุริยะชั้นในและพุ่งเข้าชนดาวเคราะห์ชั้นในกลายเป็นสะเก็ดดาว วงโคจรของแถบดาวเคราะห์น้อยยังคงถูกรบกวนอยู่เสมอ ในบางครั้งวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของมันบังเอิญไปสอดคล้องกับวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ทำให้ชิ้นส่วนจำนวนหนึ่งถูกพัดพาข้ามช่องว่างเคิร์กวูดไปยังวงโคจรอีกระดับหนึ่ง

ในเชิงอรรถที่ไม่ระบุที่มาจากงานแปลของ ชาร์ลส บอนเน็ต เรื่อง Contemplation de la Nature เมื่อปี ค.ศ. 1766[5] นักดาราศาสตร์ชื่อ โยฮัน ดาเนียล ทิเทียส ฟอน วิทเทนเบิร์ก[6][7] สังเกตเห็นรูปแบบการจัดวางตัวของดาวเคราะห์ต่างๆ ถ้าเริ่มต้นอนุกรมตัวเลขที่เลข 0 แล้วเพิ่มเป็น 3, 6, 12, 24, 48, ฯลฯ โดยเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกครั้ง บวกเลขแต่ละลำดับด้วย 4 และหารด้วย 10 จะได้ค่าประมาณของวงโคจรดาวเคราะห์ที่เรารู้จักแล้วในหน่วยดาราศาสตร์ (หนึ่งหน่วยดาราศาสตร์ หรือ 1 AU มีค่าเท่ากับระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์) รูปแบบเช่นนี้เป็นที่รู้จักต่อมาในชื่อ กฎของทิเทียส-โบเด ซึ่งสามารถทำนายแนวแกนรองของดาวเคราะห์หกดวงในเวลานั้น (คือดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์) และตัวเลขอีกหนึ่งชุดอยู่ใน "ช่องว่าง" ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ในเชิงอรรถนั้น ทิเทียสอธิบายว่า "พระผู้เป็นเจ้าจะทรงละช่องว่างไว้เช่นนั้นหรือ? หามิได้"[6] ในปี ค.ศ. 1768 นักดาราศาสตร์ชื่อ โยฮัน เอเลิร์ต โบเด เขียนผลงานที่เกี่ยวเนื่องกับงานของทิเทียส ชื่อว่า Anleitung zur Kenntniss des gestirnten Himmels แต่เขาไม่ได้เอ่ยถึงทิเทียส ดังนั้นจึงทำให้หลายคนเอ่ยถึงงานชิ้นนี้ว่า "กฎของโบเด"[7] เมื่อวิลเลียม เฮอร์เชล ค้นพบดาวยูเรนัสในปี ค.ศ. 1781 ตำแหน่งของดาวเคราะห์ก็เข้ากันกับกฎนี้แทบจะสมบูรณ์แบบ ซึ่งทำให้เหล่านักดาราศาสตร์สรุปว่าจะต้องมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งอยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดีเป็นแน่
ปี ค.ศ. 1800 นักดาราศาสตร์ชื่อ บารอน ฟรานซ์ ซาเวอร์ ฟอน แซค เชิญเพื่อนๆ ของเขา 24 คนเข้าร่วมในชมรมไม่เป็นทางการแห่งหนึ่งซึ่งเขาเรียกว่า "สมาคมลิเลียนทาล" มีเป้าหมายจะจัดระเบียบให้ระบบสุริยะ ต่อมากลุ่มนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ "ฮิมเมลสโปลิซเซ" (Himmelspolitzei) หรือ ตำรวจอวกาศ สมาชิกคนสำคัญได้แก่ เฮอร์เชล, เนวิล มัสเคลลีน, ชาลส์ เมสสิเยร์ และ เฮนริค โอลเบอร์ส[8] สมาชิกนักดาราศาสตร์แต่ละคนจะได้รับมอบหมายให้ดูแลอาณาบริเวณ 15 องศาของจักรราศี เพื่อเสาะหาดาวเคราะห์ที่หายไป[9]
ไม่กี่เดือนถัดมา นักดาราศาสตร์คนอื่นซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกตำรวจอวกาศ ได้ตรวจพบสิ่งที่พวกเขาค้นหา วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1801 จูเซปเป ปิอาซซีประธานสมาคมดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปาเลร์โม ซิซิลี พบวัตถุเคลื่อนที่ชิ้นเล็กๆ ในบริเวณที่คาดคะเนโดยกฎของทิเทียส-โบเด เขาเรียกวัตถุชิ้นนั้นว่า ซีรีส ตามชื่อเทพเจ้าโรมันองค์หนึ่ง คือเทพีแห่งการเก็บเกี่ยวและผู้พิทักษ์เกาะซิซิลี ในตอนแรกปิอาซซีเชื่อว่าวัตถุนั้นคือดาวหาง แต่เนื่องจากมันไม่มีโคม่า มันจึงน่าจะเป็นดาวเคราะห์[8] สิบห้าเดือนต่อมา โอลเบอร์ค้นพบวัตถุชิ้นที่สองในบริเวณฟากฟ้าเดียวกัน คือ พัลลัส มันไม่เหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เพราะปรากฏเป็นเพียงจุดแสงไม่ว่าจะใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสักเท่าใด นอกจากการเคลื่อนที่ของมันแล้ว ก็แทบไม่แตกต่างไปจากดวงดาวทั่วไปเลย ต่อมาในปี ค.ศ. 1802 วิลเลียม เฮอร์เชล เสนอให้จัดประเภทวัตถุเหล่านี้เป็นอีกชนิดหนึ่ง ให้ชื่อว่า "ดาวเคราะห์น้อย" (asteroid) ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า asteroeide หมายถึง "เหมือนดวงดาว"[10][11]
แต่ทั้งที่เฮอร์เชลเสนออย่างนั้น วัตถุเหล่านี้กลับถูกเรียกว่าเป็น ดาวเคราะห์ ต่อมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ[5] ราวปี ค.ศ. 1807 มีการศึกษาเพิ่มเติมพบวัตถุอีก 2 ชิ้นในย่านฟ้าเดียวกัน คือ จูโน และ เวสต้า[12] แต่สงครามของนโปเลียนทำให้การศึกษาค้นคว้าในช่วงแรกนี้ต้องยุติลง[12] และไม่มีความคืบหน้าใดๆ อีกเลยจนกระทั่งปี ค.ศ. 1845 จึงมีการค้นพบวัตถุชิ้นที่ 5 คือ แอสเตรีย นับจากนั้นก็มีการค้นพบวัตถุชิ้นใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องในเวลาอันรวดเร็ว และความคิดที่จะเรียกสิ่งเหล่านี้เป็นดาวเคราะห์ก็เริ่มมีปัญหา ในที่สุดมันก็หลุดจากผังรายชื่อดาวเคราะห์ และข้อเสนอของวิลเลียม เฮอร์เชล ที่แนะให้เรียกมันว่า ดาวเคราะห์น้อย ก็เริ่มเป็นที่นิยมกันต่อมา[5]
การค้นพบดาวเนปจูนในปี ค.ศ. 1846 ทำให้กฎของทิเทียส-โบเด ด้อยค่าลงในสายตาของเหล่านักวิทยาศาสตร์ เพราะตำแหน่งของมันไม่ใกล้เคียงการคำนวณเลย นับถึงปัจจุบันไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ใดๆ อธิบายกฎนั้นได้ และนักดาราศาสตร์มีความเห็นพ้องกันว่า กฎนั้นเป็นแค่เรื่องบังเอิญเท่านั้น[13]
ล่วงถึงกลางปี ค.ศ. 1868 มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 100 ดวง และเมื่อมีการคิดค้นภาพถ่ายดาราศาสตร์โดย แมกซ์ วูล์ฟ ในปี ค.ศ. 1891 ก็ทำให้อัตราการค้นพบวัตถุอวกาศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[14] ดาวเคราะห์น้อยถูกค้นพบ 1,000 ดวงในปี ค.ศ. 1921[ต้องการอ้างอิง] พบ 10,000 ดวงในปี ค.ศ. 1981[15] และ 100,000 ดวงในปี ค.ศ. 2000[16] ระบบการสำรวจดาวเคราะห์น้อยสมัยใหม่ใช้ค่าเฉลี่ยอัตโนมัติในการระบุตำแหน่งดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ๆ ได้เป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

[แก้]กำเนิดของดาวเคราะห์น้อย

[แก้]การก่อตัว

ปี ค.ศ. 1802 เฮนริค โอลเบอร์ เสนอกับวิลเลียม เฮอร์เชล ว่า แถบใหญ่นี้น่าจะเกิดจากดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่ระเบิดเป็นผุยผงด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง[17]แต่เมื่อเวลาผ่านไป สมมุติฐานนี้ก็ตกไป เพราะไม่สมเหตุผลที่จะมีพลังงานจำนวนมากในการกระทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้น รวมทั้งปริมาณมวลรวมของวัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อยก็มีน้อยมาก เพียงเสี้ยวเล็กๆ ส่วนหนึ่งของดวงจันทร์ของโลกเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีข้อมูลด้านเคมีที่แสดงให้เห็นว่า ดาวเคราะห์น้อยแต่ละดวงมีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกันมากจนเกินจะอธิบายได้ว่ามันเกิดมาจากดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน[18] ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าชิ้นส่วนดาวเคราะห์น้อยไม่ได้เกิดจากดาวเคราะห์ดวงเดียวกัน แต่มันไม่เคยรวมตัวเป็นดาวเคราะห์ได้สำเร็จมากกว่า
ตามปกติแล้ว การกำเนิดของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเชื่อกันว่าเกิดขึ้นจากกระบวนการที่คล้ายคลึงกับเนบิวลา กล่าวคือมีกลุ่มเมฆฝุ่นและก๊าซในห้วงอวกาศที่มารวมตัวกันเนื่องจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง ทำให้เกิดเป็นจานหมุนประกอบด้วยวัตถุสสารที่อัดแน่นจนกลายเป็นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์[19] ในช่วงไม่กี่ล้านปีแรกของประวัติศาสตร์ระบบสุริยะ กระบวนการอัดแน่นนี้ทำให้ชิ้นส่วนฝุ่นหินเล็กๆ รวมตัวกันและเพิ่มขนาดขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการรวมตัวกันจนได้ขนาดมวลมากพอ มันจะสามารถดึงดูดวัตถุอื่นเข้ามาด้วยแรงโน้มถ่วง เกิดเป็นดาวเคราะห์ในระยะเริ่มต้น แรงโน้มถ่วงที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดการก่อตัวของดาวเคราะห์หินและกลุ่มก๊าซขนาดยักษ์
ดาวเคราะห์ระยะต้นที่อยู่ในย่านที่ปัจจุบันเป็นแถบดาวเคราะห์น้อย ถูกแรงโน้มถ่วงใกล้เคียงก่อกวนจนไม่สามารถรวมตัวกันได้ มันยังคงโคจรรอบดวงอาทิตย์ได้อย่างที่เคยเป็น แต่แยกสลายออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย[20] วัตถุในย่านนั้นมีความเร็วเฉลี่ยสูงมากเกินไป และการกระจายตัวของดาวเคราะห์ระยะต้นทำให้มันมีแนวโน้มจะแตกออกมากกว่า[21] และไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เพียงพอ นอกจากนี้ยังเกิดเหตุการณ์วงโคจรทับซ้อน คือไปซ้อนกับวงโคจรของดาวพฤหัสบดี ทำให้เกิดการรบกวนการเคลื่อนที่ของวัตถุบางชิ้นและดึงพวกมันข้ามไปยังอีกวงโคจรหนึ่ง ย่านอวกาศระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีมีวงโคจรทับซ้อนมากมาย บางคราวดาวพฤหัสบดีก็เคลื่อนเข้าใกล้วงโคจรด้านใน เกิดการกระตุ้นเหล่าวัตถุในย่านแถบหลักและทำให้พวกมันเพิ่มความเร็วสัมพัทธ์มากยิ่งขึ้น[22]
ในยุคเริ่มต้นของระบบสุริยะ ดาวเคราะห์น้อยมีการหลอมละลายไปส่วนหนึ่ง ทำให้องค์ประกอบภายในมีความแตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับมวล วัตถุยุคดั้งเดิมบางส่วนต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการระเบิดของภูเขาไฟ และทำให้เกิดมหาสมุทรแม็กม่า อย่างไรก็ดี เนื่องจากรูปร่างของตัววัตถุเองที่ค่อนข้างเล็ก จึงเกิดช่วงเวลาในการหลอมละลายนี้ค่อนข้างสั้น (เมื่อเทียบกับวัตถุที่ใหญ่กว่ามาก เช่น ดาวเคราะห์) และสิ้นสุดลงในราว 4,500 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งนับเป็นเวลาหลายสิบล้านปีแรกๆ ของยุคการก่อตัว[23] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2007 มีการศึกษาผลึกเพทายในอุกกาบาตที่แอนตาร์กติกที่เชื่อว่ามีกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อย 4 เวสต้า ผลการศึกษาชี้ว่ามันถือกำเนิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในช่วงสิบล้านปีแรกของการกำเนิดระบบสุริยะ ซึ่งดาวเคราะห์น้อยอื่นๆ ในแถบหลักก็น่าจะมีกำเนิดในช่วงเดียวกัน[24]

[แก้]วิวัฒนาการ

ดาวเคราะห์น้อยไม่อาจถือเป็นตัวอย่างของระบบสุริยะในยุคดั้งเดิม เพราะมันได้ผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากการก่อตัวในครั้งแรกแล้ว ซึ่งรวมถึงความร้อนภายใน (ในช่วงหลายสิบล้านปีแรกๆ) การหลอมเหลวบนพื้นผิวเนื่องจากการชน การผุกร่อน (space weathering) จากการแผ่รังสี ตลอดจนการถูกชนจากสะเก็ดดาวขนาดเล็ก[25] นักวิทยาศาสตร์บางส่วนอ้างว่าดาวเคราะห์น้อยเป็นเศษที่เหลือมาจากดาวเคราะห์[26] แต่นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่ามันเป็นวัตถุที่แตกต่างออกไป[27]
เชื่อกันว่า แถบดาวเคราะห์น้อยในปัจจุบันเป็นแต่เพียงส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งของมวลที่เคยมีในแถบดั้งเดิม แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์แสดงให้เห็นว่าแถบดาวเคราะห์น้อยดั้งเดิมน่าจะมีมวลมากเทียบเท่ากับมวลของโลก ทั้งนี้เนื่องจากการถูกรบกวนแรงโน้มถ่วง ทำให้สสารส่วนใหญ่ดีดตัวออกไปจากแถบหลักในราวช่วงหนึ่งล้านปีของยุคการก่อตัว คงเหลือมวลอยู่ในแถบหลักเพียงประมาณ 0.1% เท่านั้น[20] หลังจากยุคการก่อตัว ขนาดการกระจายของดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักก็ค่อนข้างคงที่ ไม่มีสัญญาณที่ชี้ว่ามีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของขนาดแถบดาวเคราะห์น้อยเลย[28]
ตำแหน่งการสั่นพ้องวงโคจรกับดาวพฤหัสบดีที่ 4:1 และรัศมี 2.06 หน่วยดาราศาสตร์ อาจพิจารณาเป็นขอบเขตด้านในของแถบหลักได้ แรงรบกวนที่เกิดจากดาวพฤหัสบดีทำให้วัตถุเคลื่อนไหวไปสู่วงโคจรที่ไม่เสถียร วัตถุส่วนมากที่รวมตัวกันอยู่ด้านในของรัศมีของช่องว่างนี้จะถูกดาวอังคารเก็บกวาดไป (ระยะไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ที่ประมาณ 1.67 หน่วยดาราศาสตร์) หรือมิฉะนั้นก็ถูกดีดออกไปจากการรบกวนแรงโน้มถ่วงของดาวนับแต่ยุคแรกเริ่มของระบบสุริยะ[29] ดาวเคราะห์น้อยฮังกาเรียเกาะกลุ่มกันอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าระยะการสั่นพ้อง 4:1 แต่ก็ได้รับการปกป้องจากการก่อกวนนี้เนื่องจากมันมีความเอียงของวงโคจรค่อนข้างมาก[30]
เมื่อแถบหลักเริ่มมีการก่อตัวขึ้นแล้ว อุณหภูมิที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 2.7 หน่วยดาราศาสตร์ทำให้เกิด "แนวหิมะ" ขึ้นที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดควบแน่นของน้ำ ดาวเคราะห์ที่อยู่เกินไปกว่ารัศมีโคจรระดับนี้จะมีน้ำแข็งสะสมอยู่บนดาว[31][32] ในปี ค.ศ. 2006 มีการประกาศการค้นพบดาวหางในแถบหลักจำนวนหนึ่งซึ่งอยู่ในระยะที่เกินกว่าแนวหิมะ ซึ่งเป็นดาวหางที่น่าจะเป็นต้นกำเนิดของน้ำในมหาสมุทรของโลก เพราะตามแบบจำลองบางแบบ โลกไม่ควรจะมีปริมาณน้ำมากพอในช่วงการก่อตัวของดาวเคราะห์ที่จะทำให้เกิดมหาสมุทรขึ้นได้ แหล่งน้ำจึงน่าจะมาจากภายนอกเช่นจากการพุ่งเข้าชนของดาวหางเหล่านี้

ดาวเคราะห์ดวงใหม่

นักดาราศาสตร์ ค้นพบ ดาวเคราะห์ดวงใหม่ คล้ายโลกมากที่สุด
30ก.ย.เว็บไซต์เดลี่เมล์ รายงานว่า มวลมนุษยชาติรุ่นต่อไปกำลังมีความหวังที่จะได้ไปตั้งรกรากที่ดาวดวงใหม่ ทีมีลักษณะคล้ายโลกของเรามากที่สุด? ซึ่งบรรดานักดาราศาตร์ออกมาแถลงที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเมืองซานตาครูสว่า ได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ ซึ่งสิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้? โดยดาวดวงนี้มีที่ตั้งอยู่ใจกลางเขตที่เรียกกันว่าเขตมีชีวิต หรือ โกลดิล็อคโซน (Goldilocks zone) ที่ต่างจากดาวเคราะห์ทั่วไป อีกทั้งมีระยะห่างที่ไม่ไกลจากดาวฤกษ์ซึ่งเป็นดาวแม่ของมัน ซึ่งอาจจะมีน้ำในสถานะที่เป็นของเหลว ที่จะก่อกำเนิดมหาสมุทร แม่น้ำต่างๆ และภูมิอากาศก็ไม่หนาวหรือร้อนจนเกินไป
ดาวดวงนี้ โคจรรอบดาวแม่ที่ชื่อ กลีซ 581 (Gliese 581) จึงมีชื่อว่า กลิซ 581 จี อยู่ห่างจากโลกเราถึง 195 ล้านล้านกิโลเมตร แม้จะดูเหมือนว่าไกล แต่หากเทียบกับขนาดของจักรวาล ก็ถือได้ว่ามันอยู่ใกล้โลกมาก
ดาวฤกษ์ Gliese 581 ถูกบันทึกได้จากองคืการนาซ่าเมื่อปี 2007 ซึ่งเป็นดาวแคระแดงขนาดพอๆ กับดาวเนปจูน แต่เล็กกว่า ให้แสงสว่างน้อยกว่า และเย็นกว่าดวงอาทิตย์
นายอาร์. พอล บัตเลอร์ หนึ่งในผู้ร่วมค้นพบดาวดวงจากสถานบันคาร์เนอกี้ กรุงวอชิงตัน กล่าวว่า ยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับดาวดังกล่าว แต่ได้อธิบายถึงดาวดวงนี้ว่า มันมีมวลมากกว่าโลกประมาณ 3 เท่า มีความกว้าง กว้างกว่าโลกเล็กน้อย แต่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ของมันมากกว่าโลก
โดยมันอยู่ใกล้เพียง 22.5 ล้านกิโลเมตร ขณะที่โลกอยู่ห่างถึง 150 ล้านกิโลเมตร ทำให้มันโคจรรอบดาวแม่ในเวลาแค่ 37 วันก็ครบ 1 ปี นอกจากนั้นมันก็ไม่ค่อยหมุนรอบตัวเองมากนัก เพราะด้านหนึ่งมักจะสว่างอยู่เสมอ ส่วนอุณหภูมิที่พื้นผิวอาจสูง? 71 องศาเซลเซียส หรือเย็นถึงลบ 4 องศาเซลเซียส? แต่เมื่ออยู่ระหว่างกึ่งกลางของโซน มนุษย์สามารถอยู่ได้สบายๆ
ภาพเปรียบเทียบวงโคจรของระบบสุริยะของโลก กับ วงโคจรของ กลีซ 581 ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าระบบโคจรของระบบสุริยะ

ประวัติปลาคราฟ






 ปลาคาร์พ หรือปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) นับเป็นปลาที่สวยงามชนิดหนึ่ง ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมันเลี้ยงง่าย โตไว อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก  เช่น  ปลาคาร์พ ชื่อ "ฮานาโกะ" ของนายแพทย์ผู้หนึ่ง ที่ เมืองกูฟี ประเทศญี่ปุ่น มีอายุยืนถึง 266 ปี

           ทั้งนี้ ปลาคาร์พ จัดอยู่ในประเภทปลาน้ำจืดกลุ่มปลาตะเพียน (Carp) ชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า โต่ย (Koi) นิชิกิกอย (Nichikigoi) มีต้นกำเนิดมาจากปลาไนธรรมดา ซึ่งพบในแหล่งน้ำจืดต่างๆ ทั่วโลก สำหรับถิ่นกำเนิดที่แท้จริงก็คือ ประเทศอิหร่านในปัจจุบัน แต่ชาวจีนเป็นกลุ่มแรกที่ได้ศึกษาเรื่องปลาไนมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว

           ส่วนประเทศญี่ปุ่นได้ศึกษาเกี่ยวกับปลาคาร์พ เมื่อประมาณ 200 ปี หลังคริสต์ศตวรรษ โดยกล่าวถึงปลาชนิดนี้ว่ามีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน ซึ่งชาวญี่ปุ่นนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น และได้พัฒนาสายพันธุ์ดั้งเดิมของปลาไน ให้เป็นปลาสวยงาม มีสีสันและรูปร่างที่สวยงามขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน โดยเรียกว่า ปลาคาร์ฟ หรือ แฟนซีคาร์ฟ โดยมีแหล่งหรือศูนย์กลางการเพาะเลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟ บริเวณเขาแถบเมืองโอจิยะ จังหวัดนิอิกาตะ และเมืองฮิโรชิมา

           สำหรับประเทศไทยได้เริ่มนำเข้าปลาคาร์ฟเมื่อปี พ.ศ.2493 โดยการนำมาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการซื้อขายในราคาที่ค่อนข้างสูง ในปี พ.ศ.2498 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรง สั่งปลาชนิดนี้มาจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำมาเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์และตั้งชื่อปลาแฟนซีคาร์ฟนี้ว่า ปลาอมรินทร์ หรือบางทีก็เรียกว่า ปลาไนทรงเครื่อง ซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกกันว่า นิชิกิกอย (Nichikigoi)

ประเภทของปลาคาร์พ

           ปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์พขึ้นใหม่ในเชิงการค้าทั้งหมด 13 สายพันธุ์หลัก โดยแบ่งแยกตามลักษณะของลวดลายและสีสันบนตัวปลา ได้แก่

           1. โคฮากุ (Kohoku) เป็นปลาที่มีลายขาวและแดง เป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด ลักษณะที่ดีสีแดงจะต้องคมชัดสม่ำเสมอ และสีขาวไม่ควรมีตำหนิใดๆ
   
           2. ไทโช ซันเก้ (Taisho Sanke) ประกอบ ด้วย 3 สีด้วยกัน คือ ขาว แดง และดำ สีดำบนตัวปลานั้นควรดำสนิท และดวงใหญ่ ไม่ควรมีสีดำบนส่วนหัว รวมทั้งไม่มีสีแดงบนครีบและหาง
   
           3. โชวา ซันโชกุ (Showa Sanshoku) เป็น แฟนซี คาร์พสามสี เช่นเดียวกับไทโช ซันเก้ ที่แตกต่างกันก็คือ สีขาวและแดงจะรวมตัวอยู่บนพื้นสีดำขนาดใหญ่ และมีสีดำบริเวณเชื่อมต่อครีบ และลำตัวในลักษณะของตัว Y
   
           4. อุจิริ โมโน (Utsuri Mono) เป็นแฟนซีคาร์พ ที่มีสีดำพาดผ่านบนพื้นสีอื่น โดยสีดำที่ปรากฏจะเป็นรอยปื้นยาวพาดบนตัวปลา
   
           5. เบคโกะ (Bekko) เป็นแฟนซี คาร์พ ที่มีสองสี โดยมีลวดลายเป็นจุดดำแต้มอยู่บนพื้นสีต่างๆ ในขนาดที่ไม่เล็ก หรือใหญ่เกินไป
   
           6. อาซากิ ชูซุย (Asagi Shusui) อาซากิ ชูซุย เป็นสายพันธุ์ที่ถ่ายทอดมาจากปลาไนโดยตรง จะมีเกล็ดสีฟ้าสวยเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ
   
           7. โกโรโมะ (Koromo) เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างอาซากิกับสายพันธุ์อื่นๆ โดยจะมีเกล็ดสีน้ำเงินกระจายเด่นอยู่บนลวดลาย
   
           8. โอกอน (Ogon) เป็นปลาที่ไม่มีลวดลาย โดยจะมีสีลำตัวสว่างไสว ปราศจากจุดด่างใดๆ
   
           9. ฮิการิ โมโย (Hikari Moyo) เป็นปลาที่มี 2 สี หรือมากกว่า โดยจะมีอย่างน้อยหนึ่งสีที่แวววาวดุจโลหะ (Metallic)
   
           10.ฮิการิ อุจิริ (Hikari Utsuri) เป็นปลาที่มีลาดยพาดสีดำเช่นเดียวกับ อุจิริ โมโน บนพื้นที่มีความแวววาวคล้ายโลหะ
   
           11. คินกินริน (Kinginrin) เป็นปลาที่อยู่ในกลุ่มที่มีประกายเงินหรือทองอยู่บนเกล็ด โดยเกล็ดจะดูนูนเหมือนไข่มุก
   
           12. ตันโจ (Tancho)  เป็นปลาที่มีสีแดงเพียงที่เดียวอยู่บนหัว โดยอาจมีรูปทรงกลมขนาดใหญ่ หรือรูปอื่นๆก็ได้
   
           13. คาวาริ โมโน (Kawari Mono) เป็นปลาที่ไม่มีลักษณะลวดลายที่ตายตัว ต่างจากพันธุ์อื่นๆ โดยจะมีลวดลายเกิดขึ้นใหม่ทุกปี

 การเริ่มต้นเลี้ยงปลาคาร์พ

           ใครที่ตัดสินใจจะเลี้ยงปลาคารพ์ ควรเริ่มต้นด้วยการขุดบ่อขนาด 80 x 120 ลึก 50 เซนติเมตร มีสะดือที่ก้นบ่อขนาด 1 x 2 ฟุต ลึกประมาณ 4-6 นิ้ว เพื่อไว้เป็นที่เก็บขี้ปลาและสิ่งสกปรก และติดตั้งระบบถ่ายเทน้ำเสียเพื่อช่วยให้น้ำในบ่อสะอาดอยู่ตลอดเวลาด้วย สำหรับบ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์ฟ ควรเป็นบ่อซีเมนต์เพราะสามารถดัดแปลงเป็นบ่อธรรมชาติได้ง่าย มีตะใคร่น้ำเกิดและเกาะได้เร็ว ซึ่งตะใคร่น้ำนั้นจะเป็นอาหารที่ดีของปลาและสามารถดูดสิ่งสกปรหและแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำได้อีกด้วย

           และบ่อนี้ควรจะตั้งอยู่ในที่มีร่มเงาต้นไม้ใหญ่ได้ร่มรื่นพอควร อย่าให้อยู่กลางแจ้งเพราะจะทำให้ปลามีสัสันที่จืดจางลง และยังโตช้าลงไปอีกด้วย

           ส่วนน้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์พ เป็นน้ำประปาจะดีกว่าน้ำชนิดอื่น เพราะน้ำประปามีสภาพเป็นกลาง ถ้าใช้น้ำฝนจะทำลายสีของปลาและปลาอาจเกิดโรคได้ง่าย ส่วนน้ำจากแม่น้ำลำคลองก็ไม่เหมาะ เพราะอาจมีเชื้อโรคติดมาเป็นอันตรายกับปลาได้ หากไม่มีน้ำประปา ต้องใส่ยาฆ่าเชื้อและเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำจากกรดให้เป็นกลางเสียก่อน แล้วค่อยนำมาเลี้ยงปลาได้    ทางที่ดีต้องติดตั้งระบบหมุนเวียนของน้ำ และเครื่องพ่นน้ำ เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำในบ่อถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา และมีออกซิเจนเพียงพอกับปลาด้วย

           เมื่อเตรียมบ่อและน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การจะหาปลาคาร์ฟมาเลี้ยง ควรหาลูกปลาที่มีอายุ 1-2 ปี มาเลี้ยง ไม่ควรจะนำปลาขนาดใหญ่มาเลี้ยง และปลาชนิดอื่นหากไม่จำเป็นไม่ควรนำมาเลี้ยงรวมกับปลาคาร์ฟ เพราะอาจนำเชื้อโรคมาให้ปลาคาร์ฟได้

 อาหารและการเลี้ยงดู

           ผู้เลี้ยงควรให้อาหารไม่เกินวันละ 2 เวลา คือเช้ากับเย็น ข้อควรจำในการให้อาหารคือ ต้องให้ตามเวลา เพื่อปลาจะเกิดความเคยชินและเชื่องกับผู้ที่เลี้ยง และอาหารที่ให้ต้องกะให้พอกับจำนวนปลา อย่าให้น้อยหรือมากเกินไป ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตว่า ปลากินอาหารอย่างไร? ถ้าอาหารหมดเร็ว แสดงว่าปลายังต้องการอาหารเพิ่ม ก็เพิ่มลงไปอีเล็กน้อย แต่ถ้าอาหารยังลอบน้ำอยู่ ก็รีบตักออกเพราะว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้น้ำเสียเร็ว

           สำหรับอาหารที่ให้ แนะนำเป็นเนื้อปลาป่น กุ้งสดบด เนื้อหอย เนื้อปู ปลาหมึก ข้าวสาลี รำ ผักกาด ข้าวโพด แมลง สาหร่าย ตะใคร่น้ำ แหน ลูกน้ำ หนอนแดง ถั่วเหลือง ขนมปัง และอาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด

           ทั้งนี้ เมื่อสังเกตเห็นน้ำในบ่อเริ่มขุ่นและมีสิ่งสกปรกมาก ต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที และขณะที่ถ่ายน้ำ ออก 1 ใน 3 ส่วนของบ่อจะต้องเพิ่มน้ำใหม่แทนในปริมาณเท่าเดิมโดยใช้น้ำประปาที่เก็บไว้ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่คอรีนระเหยแล้ว อย่าใช้น้ำประปาที่รองจากก๊อกใหม่ๆ หรือน้ำประปาที่เก็บไว้นานเพราะจะเกิดอันตรายต่อปลาได้

 โรคและการรักษา

           1.โรคโซโคลกิต้า เกิดจากการถ่ายน้ำในบ่อบ่อยครั้งเกินไป การย้ายปลาบ่อยครั้งเกินไป เชื้อโคลกิต้าที่อยู่ในน้ำจะทำลายปลา ทำให้เกิดเป็นแผลขุ่นที่ผิวหนังและตายไปในที่สุด

           วิธีรักษา : ควรใช้เกลือป่นและด่างทัทิมละลายละลายให้เจือจางลงในน้ำ เพื่อฆ่าเชื้อโซโคลกิต้า ก่อนจะนำไปใช้เลี้ยงปลา สำหรับในรายที่ปลาเป็นโรคนี้ ให้แช่ปลาในน้ำยานี้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง

           2.เหงือกเน่า เกิดจากเชื้อราคอลัม พาริส ทำให้ปลามีอาการซึม และกินอาหารได้น้อยลง ไม่มีแรงว่าย

           วิธีรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะ ออริโอมัยซินผสมกับอาหาร ในอัตราส่วน 1 ช้อนต่ออาหารปลา 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกัน 3-4 วัน และจับปลาที่มีอาการมากในน้ำที่ผสมกับฟูราเนสเป็นเวลา 10 นาทีทุกวัน จนปลามีอาการดีขึ้น

           3.หางและครีบเน่า  เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในน้ำซึ่งเนื่องมาจากปลาขี้และเศษอาหาร ที่ตกค้างอยู่ในบ่อทำให้ครีบและปลายหางหลุดหายไป และจะลามไปทั่วตัว

           วิธีรักษา : ต้องรีบถ่ายน้ำ ทำความสะอาดบ่อโดยเร็วพร้อมกันนั้น ใช้มาลาไคท์กรีนผสมกับน้ำในอัตรา 1 ขีด ต่อน้ำ 1 ลิตร จับปลาแช่ในน้ำดังกล่าวติดต่อกัน 3-4 วัน จนดีขึ้น

           4.เนื้อแหว่ง  เกิดจากปลาได้รับบาดเจ็บเพราะถูกหินหรือต้นไม้ในบ่อ จนเป็นแผลแล้วเชื้อโรคจากน้ำที่สกปรกเกาะตามผิวหนัง ทำให้เกล็ดหลุดแล้วมีจุดขาวๆ ตามลำตัวเกาะติดตามผิวหนัง ทำให้เกิดอาการอักเสบบวมเป็นรอยช้ำเลือด จนตายไปในที่สุด

           วิธีรักษา : ใช้ยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน ผสมกับอาหารในอัตรา 1 ช้อนชา ต่ออาการ 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกันจนหายขาด

           5.เชื้อราบนผิวหนัง  เกิดจากเชื้อราแพร่กระจายบนผิวหนังปลา ทำให้เนื้อปลาเน่าเปื่อย ถ้าไม่รีบเร่งรักษาปลาจะตายเร็ววัน

           วิธีรักษา : นำปลามาแช่ในน้ำที่เจือด้วยเกลือป่นจางเอาสำลีชุบน้ำยาฟูราเนสทำความสะอาด ที่บาดแผลแล้วจับปลาแช่ในน้ำผสมยา ฟูราเนสติดต่อกัน 5-7 วัน จนกว่าปลาจะหายขาด

           6.ผิวหนังขุ่น เกล็ดพอง เกิดจากการที่ให้อาหารที่มีโปรตีนและไขมันมากเกินไป ปลาปรับตัวไม่ทัน จะทำให้ระบบย่อยอาหารของปลาไม่ทำงาน ตามผิวหนังจะเห็นรอยเส้นเลือดขอดขึ้น ผิวหนังเริ่มบวมและอักเสบ

           วิธีรักษา : ต้องแช่ปลาในน้ำเกลือจางๆ และให้กินอาหารผสมด้วยยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน และให้กินอาหารประเภทผักเสริมมากกว่าเดิม

           7.ลำใส้อักเสบ  เกิดจากการที่ปลากินอาหารหมดอายุ มีเชื้อราปนอยู่ในอาหาร อาการเช่นนี้จทำให้ปลาไม่ค่อยกินอาหาร มีมูกเลือดปนออกมากับอุจจาระ บางครั้งจะถ่ายออกมาเป็นน้ำขุ่นๆ

           วิธีรักษา :  ต้องรีบทิ้งอาหารเก่าทั้งหมด เอาปาขึ้นมาแช่น้ำเกลือที่เจือจาง แล้วให้อาหารอ่อนๆ เช่น ลูกไรแดงหรือเนื้อปลาบดอ่อน แล้วค่อยให้อาหารสำเร็จรูปตามปกติ

           8.เห็บ  เกิดจากตัวที่ติดมากับอาหารประเภทผัก ซึ่งขาดการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง และติดตัวมากับปลาตัวใหม่ ตัวเห็บนี้มักจะเกาะอยู่ใต้เกล็ดปลา ดูดเลือดปลาเป็นอาหาร ทำให้ปลาว่ายน้ำติดขัดไม่สะดวก ปลาจะเอาตัวถูตามผนังบ่อหรือเศษหินภายในบ่อ จนเกิดบาดแผลในเวลาต่อมา

           วิธีรักษา : ใช้น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อเพื่อป้องกัน ทำลายตัวเห็บติดต่อกันราว 2-3 อาทิตย์ แล้วค่อยหยุดใช้ยา

           9.หนอนสมอ ศัตรูร้ายอีกชนิดหนึ่งของปลาคือ หนอนรูปร่างคล้ายสมอ ยาวเหมือนเส้นด้าย มันจะเจาะผนังตัวปลาทำให้ติดเชื้อได้ และตามผิวหนังปลาจะมีรอยสีแดงเป็นจ้ำๆ ครีบและเหงือกจะอักเสบ ปลามีอาการซึมเบื่ออาหาร

           วิธีรักษา : เช่นเดียวกับการรักษาเห็บ กล่าวคือ นำน้ำยามาโซเต็นผสมกับน้ำ จับปลาแช่น้ำยาทุกๆ 3 วัน จนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น และในบ่อเลี้ยงก็ควรหยดน้ำยานี้ลงฆ่าทำลายไข่ตัวหนอนสมอด้วย

           10.พยาธิเส้นด้าย  ติดมาจากอาหาร ลูกน้ำหนอนแดง ที่ปลากินเข้าไป จะเจาะเข้าไปเจริญเติบโตในตัวปลา และออกมาสร้างรังตามผิวหนังใต้เกล็ดปลา ทำให้ผิวหนังปลาแดงช้ำๆ

           วิธีรักษา : ให้นำปลาไปแช่ในน้ำเกลือที่เจือจางประมาณ 1-2 วัน พยาธิก็จะตายและปลามีอาการดีขึ้นและควรใส่น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อ เพื่อฆ่าใข่ของมันด้วย